วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

วิทูรชาดก

วิทูรชาดก

นเมืองอินทปัตต์ แคว้นกุรุ พระราชาทรง พระนามว่า ธนัญชัย ทรงมีนักปราชญ์ประจำ ราชสำนักชื่อว่า วิธุร วิธุรเป็นผู้มีวาจาฉลาด หลักแหลม เมื่อจะกล่าวถ้อยคำสิ่งใด ก็สามารถ ทำให้ผู้ฟังเกิดความเลื่อมใสครัทธราและ ชื่นชมยินดีในถ้อยคำนั้น ในครั้งนั้น มีพราหมณ์อยู่ 4 คน เคยเป็นเพื่อน สนิทกันมาแต่เก่าก่อน ต่อมาพราหมณ์ทั้งสี่ ได้ออกบวช เป็นฤษีบำเพ็ญพรตอยู่ในป่า หิมพานต์ และบางครั้งก็เข้ามาสั่งสอนธรรม แก่ผู้คนในเมืองบ้าง ครั้งหนึ่งมี เศรษฐี 4 คน ได้อัญเชิญฤาษีทั้งสี่ ไปที่บ้านของตน เมื่อ ฤาษีบริโภคอาหารแล้ว ได้เล่าให้เศรษฐีฟังถึง สมบัติในเมืองต่างๆทีตนได้เคยไปเยือนมา ฤาษีองค์หนึ่งเล่าถึงสมบัติของพระอินทร์ องค์ที่สองเล่าถึง สมบัติของพญานาค องค์ที่สาม เล่าถึงสมบัติพญาครุฑ และองค์สุดท้ายเล่าถึง สมบัติของพระราชาธนัญชัย แห่งเมืองอินทปัตต์ เศรษฐีทั้งสี่ได้ฟังคำพรรณนา ก็เกิดความ เลื่อมใสอยากจะได้สมบัติเช่นนั้นบ้าง ต่างก็ พยายามบำเพ็ญบุญ ให้ทาน รักษาศีลและอธิษฐาน ขอให้ได้ไปเกิดเป็นเจ้าขอสมบัติดังที่ต้องการ ด้วยอำนาจแห่งบุญ ทาน และศีล เมื่อสิ้น อายุแล้ว เศรษฐีทั้งสี่ก็ได้ไปเกิดในที่ที่ตั้ง ความปรารถนาไว้ คือ คนหนึ่งไปเกิดเป็น ท้าวสักกะเทวราช คนที่สองไปเกิดเป็น พญานาคชื่อว่า อ่านเพิ่มเติม

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เวสสันดรชาดก

มหาชาติ หรือ มหาเวสสันดรชาดก

 มหาชาติ  เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ที่ได้เสวยพระชาติเป็น
พระเวสสันดรและเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
คนไทยรู้จักและคุ้ยเคยกับมหาชาติมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
ดังที่ปรากฏในหลักฐานในจารึกนครชุมและในสมัยอยุธยาก็ได้มีการแต่งและ
สวดมหาชาติคำหลวงในวันธรรมสวนะ  ส่วนการเทศน์มหาชาติเป็นประเพณี
ที่สำคัญในทุกท้องถิ่นและมีความเชื่อกันว่าการฟังเทศน์มหาชาติจบภายใน
วันเดียวจะได้รับอานิสงส์มา

ผู้แต่ง

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
กวีสำนักวัดถนน
กวีวัดสังขจาย
(พระเทพโมลี (กลิ่น)
(เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

ลักษณะคำประพันธ์


ความเรียงร้อยแก้ว  ร่ายยาว  กลบท  กลอนพื้นบ้าน

จุดมุ่งหมายในการแต่ง

เพื่อใช้ในการสวด  เทศนาสั่งสอน

ความเป็นมา

เวสสันดรชาดกนี้เป็นเรื่องใหญ่จัดรวมไว้ในมหานิบาตชาดกรวมเรื่องใหญ่

 ๑๐ เรื่อง ที่เรียกกันว่า  ทศชาติ  แต่อีก ๙ เรื่อง  ไม่เรียกว่ามหาชาติ 
 คงเรียกแต่เวสสันดรชาดกเรื่องเดียวว่า  มหาชาติ  
ข้อนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
โปรดประทานอธิบายว่า  พุทธศาสนิกชนชาวไทยตลอดจนประเทศ

ใกล้เคียงนับถือกันมาแต่ อ่านเพิ่มเติม


พรหมนารทชาดก

พระนารทพรหม ผู้บำเพ็ญอุเบกขาบารมี (นารทชาดก)

นิทานชาดก พระนารทพรหม ผู้บำเพ็ญอุเบกขาบารมี (นารทชาดก)ครั้งหนึ่งมีพระโพธิสัตว์นามว่า พระนารท ซึ่งเป็นภพชาติหนึ่งขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีเรื่องว่า มีพระราชาผู้ครองเมืองมิถิลา ผู้ยึดมั่นในทศพิธราชธรรม พระนามว่า อังคติราช ทรงมีพระธิดาพระองค์หนึ่งซึ่งมีพระสิริโฉมงดงามนัก พระนามว่า รุจาราชกุมารี ผู้เป็นที่รักแห่งองค์พระราชา เมื่อถึงคืนแห่งเทศกาลมหรสพชาวเมืองได้ประดับประดาบ้านเรือนของตนอย่างสวยงามทุกเรือน ขณะดวงจันทร์ทรงกลดลอยเด่นอยู่บนนภา พระเจ้าอังคติราชทรงประทับท่ามกลางเหล่าเสนาอำมาตย์ภายในพระราชวังที่ประดับประดาอย่างงดงามอลังการสมพระเกียรติแห่งองค์ราชัน

พระเจ้าอังคติราชทรงตรัสกับเหล่าอำมาตย์ว่า “พวกเจ้าว่าในราตรีอันรื่นรมย์เช่นนี้ ข้าจะทำอันใดให้อภิรมย์ดี” ฝ่ายอลาตอำมาตย์ทูลว่า อ่านเพิ่มเติม

จันทกุมารชาดก


   พระจันทกุมาร (จ) เรื่องนี้นับเป็นเรื่องที่ ๗ ในเรื่องพระเจ้าสิบชาติ
    เรื่องมีอยู่ว่าสมัยเมื่อพระเจ้าเอกราชครองราชสมบัติอยู่ในบุปผาดีนคร ท้าวเธอมีมเหสีพระนามว่าโคตมี และมีราชโอรสนามว่า จันทกุมาร มีปุโรหิตชื่อ กัณฑหาลพราหมณ์
    กัณฑหาลพราหมณ์เป็นคนโลภ เมื่อมียศโดยพระเจ้าเอกราชมอบอำนาจให้พิพากษาอรรถคดีต่าง ๆ ก็ชอบกินสินบน เข้าแบบที่มูลบทบรรพกิจสอนเด็กไว้ว่า

“ใครเอาข้าวปลามาให้สุภาก็ว่าดี
ที่แพ้แก้ชนะไม่ถือประเพณี
ขี้ฉ่อก็ได้ดี ไล่ด่าตีมีอาญา”
   นี้เป็นแบบเดียวกัน มีเรื่องความอะไรมา ถ้าไม่อยากชนะ เงิน-เงิน-เงิน เท่านั้นเป็นพระเจ้า ภายในร่างกายของกัณฑหาลพราหมณ์ดูจะเต็มไปด้วยเงิน เลือดคงจะกลายเป็นสีน้ำเงินไปด้วย
    การกินการโกงเป็นของมีมาแล้วแต่ดึกดำบรรพ์ แม้เมื่อกัณฑหาลพราหมณ์เข้ามาเสวยอำนาจ เป็นเรื่องเลื่องลือกระฉ่อนไปหมดในสมัยนั้น ไม่มีใครสามารถจะจัดการได้ หากใครร้องเรียนจะต้องถูกลงโทษฐานะบ่อนทำลายสถาบันอันศักดิ์สิทธิ์เสียด้วย เลยพวกปากหอยปากปูทั้งหลายต้องนิ่งเงียบปล่อยให้ลือตามใจชอบ
    วันหนึ่งตอนจะเกิดเรื่อง กัณฑหาลพราหมณ์ตัดสินคดี อย่างที่เคยมาแล้ว คือให้คนที่เอาสินบนมาถวายชนะไป ผู้ที่แพ้ก็ได้แต่ก้มหน้า อ่านเพิ่มเติม

ภูริทัตตชาดก



พระภูริทัต ผู้บำเพ็ญศีลบารมี (ภูริทัตชาดก)

พระองค์ได้ลอบปลงพระชนม์เพื่อแย่งชิงพระราชสมบัติ เช้าวันรุ่งขึ้นพระองค์ทรงมีรับสั่งให้พระโอรสออกไปให้ห่างไกลจากเมืองพาราณสีแห่งนี้จนกว่าพระองค์จะทรงสิ้นพระชนม์ พระโอรสจึงจะสามารถกลับมาสืบทอดราชสมบัติต่อจากพระองค์ได้ ด้วยเกรงว่าเหตุการณ์จะเป็นไปดังที่ทรงเกิดนิมิตในพระสุบินของพระองค์
ฝ่ายพระโอรสผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งอุปราชาอยู่ ณ บัดนี้ ไม่เข้าใจในพระบิดา แต่ก็ยินดีทำตามพระประสงค์ของบิดา จึงทรงเดินทางไปบวชอยู่ ณ บริเวณแม่น้ำยุมนา ขณะนั้นมีนางนาคตนหนึ่งเดินทางท่องเที่ยวมาตามริมน้ำอย่างว้าเหว่ เนื่องจากสามีของนางเพิ่งตายไป ทำให้นางต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวมิอาจทนอยู่ในบาดาลได้ จนมาเห็นศาลาซึ่งเป็นที่พักของพระโอรสจึงแอบดู ก็พบพระโอรสรูปงามซึ่งบัดนี้ได้เป็นนักบวชพำนักอยู่ ณ ที่แห่งนี้ นางนาคจึงคิดลองใจโดยจัดตกแต่งประดับประดาด้วยดอกไม้หอมนานาชนิด พร้อมของทิพย์สวยงามต่างๆ จากเมือง อ่านเพิ่มเติม

มโหสถชาดก


มโหสถ
เป็นเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ ชาติที่ ๕ ในทศชาติ มีเรื่องราวโดยย่อดังนี้

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในพระราชสำนักของพระเจ้าวิเทหะ เมืองมิถิลา มีราชบัณฑิตอยู่ ๔ คน คือ เสนกะ ปุกกุสะ กามินทะ และ เทวินทะ มีบ้านอยู่ที่ประตูเมืองทั้ง ๔ ทิศ คราวนั้น พระโพธิสัตว์เกิดเป็นบุตรของสิริวัฒกเศรษฐีและนางสุมนาเทวี ในหมู่บ้านอันตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองมิถิลา ในวันถือปฏิสนธิในครรภ์มารดานั้น พระราชาทรงสุบินว่า ที่มุมสนามหลวง ๔ มุมมีกองเพลิงใหญ่เท่ากำแพงเมือง ๔ กอง ในท่ามกลางมีกองไฟเท่าหิ่งห้อย ๑ กอง แต่กลับส่องสว่างไสวมากกว่ากองเพลิงทั้ง ๔ กองนั้นโหรหลวงจำทำนายว่าจักมีบัณฑิตคนสำคัญมาเกิดในเมืองนี้มโหสถกุมารได้แสดงความเป็นบัณฑิตตั้งแต่อายุได้ ๗ ขวบเท่านั้น มีความสามารถออกแบบสร้างศาลาและให้ประดับตกแต่งศาลาพร้อมกับปลูกไม้ดอกไม้ประดับได้ และได้แสดงความอัจฉริยะทางสติปัญญาหลายประการ ได้แก่ อ่านเพิ่มเติม

เนมิราชชาดก


พระเนมิราช
คติธรรม : บำเพ็ญอธิษฐานบารมี
"การหมั่นรักษาความดีประพฤติชอบโดยตั้งใจมั่นคง โดยมุ่งมั่น หากทำความดีแล้วย่อมได้ดี
ประพฤติชั่วย่อมได้ผลชั่วตอบแทน นี้เป็นเรื่องที่สมควรยึดมั่นโดยแท้”

     ♤ สมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จอยู่ ณ เมืองมิถิลา เมื่อบิณฑบาตแล้วประทับอยู่ในอัมพวันสวนมะม่วง ในเวลาตะวันเย็นทอดพระเนตรภูมิประเทศราบรื่น พระพุทธองค์จึงทรงแย้มพระโอษฐ์ พระอานนท์จึงกราบทูลตามเหตุที่ทรงแย้มพระโอษฐ์ พระพุทธองค์ตรัสว่า ครั้งเมื่อตถาคตเสวยพระชาติเป็น “พระยามะฆะเทวราช” ได้มาเล่นอยู่ในอัมพวันอุทยาน ณ สถานที่นี้ถึง ๘๔,๐๐๐ ปี แล้วทรงนิ่งอยู่ พระสงฆ์ทั้งปวงพร้อมกันอาราธนา พระพุทธเจ้าจึงโปรดประทานเล่าเรื่อง  อ่านเพิ่มเติม